วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

Switch คืออะไร ? และทำงานอย่างไร ?




Switch คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ใช้สำหรับเชื่อมเครือข่ายแต่ละเน็ตเวิร์คของแต่ละเครื่องให้เข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อไปยังคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง เพื่อใช้ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องภายในเครือข่าย ในการเชื่อมคอมพิวเตอร์ไปยัง Switch จะใช้อุปกรณ์ 3 อย่างด้วยกันคือ 1. สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) 2. หัว RJ45 เป็นหัวสำหรับสาย UTP ทั้งสองฝั่ง  3. Network adapter card หรือการ์ดแลนสำหรับ PC นั่นเอง



 UTP (Unshielded Twisted Pair)



 หัว RJ45 


Network adapter card 

Switch มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง การทำงานของ Switch มีหลักการคือ เมื่อคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับ Switch ใน Port ที่ 1 ต้องการจะติดต่อกับคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่าย คอมพิวเตอร์เครื่องส่งก็จะสร้าง Frame ของข้อมูลขึ้นมา โดยจะประกอบด้วย MAC Address, IP Address ของเครื่องส่ง และ IP Address ของปลายทางที่ต้องการติดต่อ แต่จะยังไม่มี MAC Address ของคอมพิวเตอร์ปลายทาง นำมาประกอบกันเป็น Frame

ต่อจากนั้นจะใช้ Protocol ARP ที่มีอยู่ใน Protocol TCP/IP มาใช้ในการค้นหา MAC Address ของ คอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่ต้องการจะติดต่อด้วย โดย Protocol ARP จะทำการ Broadcast Frame นี้ไปยังทุก Port ของ Switch เรียกว่า ARP Request เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address ตรงกับ IP Address ที่ต้องการติดต่อทราบ ก็จะตอบกลับว่านี่เป็น IP Address ของคอมพิวเตอร์ปลายทางเครื่องนั้นจริง มันจะตอบกลับพร้อมกับใส่ค่า MAC Address ของมันลง ใน ARP Reply ในแบบ Broadcast ด้วย ซึ่งจะทำให้ Switch รับทราบด้วย

ต่อจากนั้น Switch ก็จะทำการ Forward ข้อมูลต่างๆ ไปยัง Port ที่เป็นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ทั้งสองได้อย่างถูกต้อง และ Switch จะยังเก็บเอาข้อมูลของ Mac Address ต้นทางของทั้งสองเอาไว้ในตาราง Source Address Table เพื่อเก็บเอาข้อมูล MAC Address กับ Port ที่ติดต่อไว้ใช้ในการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นในครั้งต่อไป


การใช้ Switch ในการเชื่อมต่อเครือข่ายจะเป็นการแบ่งเครือข่ายออกเป็น Multiple Collision Domain โดยอัตโนมัตจะทำให้ Network Computer ทำงานได้อย่างเหมาะสมเพราะ Switch จะทำการ Drop frame ที่ไม่จำเป็นต้องส่งต่อออกไปยัง Switch ตัวอื่น หากตรวจพบว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการส่งอยู่ใน Switch ตัวเดียวกันแล้วก็จะเป็นการลด Traffic ใน Network ลงได้เป็นอย่างดีทีเดียว

Collision Domain คือการเชื่อมคอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน คอมพิวเตอร์ทั้งหมดติดต่อสื่อสารกันได้และข้อมูลก็อาจจะเกิดการชนกันได้ ทำให้เกิดการรับส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การแก้ไขการชนกันของข้อมูลนั้น ต้องใช้กฏกติกาการรับส่งข้อมูลเข้ามาช่วยเช่น CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access/Collision Detect) เป็นหนึ่งในกติกานั้น ซึ่งจะคล้ายกับสัญญาณไฟจราจรที่มีการหลีกเลี่ยงกันและกันในทางแยก Collision Domain เกิดจากเชื่อมต่อเข้าหากันด้วยอุปกรณ์ Hub ซึ่งในการเชื่อมต่อ Hub ต่อกันไปเรื่อยๆ ทั้งหมดจะอยู่ใน Collision Domain เดียวกัน ดังนั้นจะมี Collision Domain ขนาดใหญ่มากทำให้มีข้อมูลวิ่งเต็มไปหมดและมีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูลได้ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการรอคอยที่ยาวนานกว่าจะสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้ทำให้ มี Switch เข้ามาทดแทนดังในปัจจุบันนั่นเอง

หน้าที่การทำงานของเราท์เตอร์(Router)



หน้าที่หลักของเราท์เตอร์ (Router) คือ การหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลาง


ในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่นๆ ทั้งนี้ เราท์เตอร์(Router) สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้


สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็น Etherner , Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆ ที่ในแต่ละ


ระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ Apple Talk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ


Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อเราท์เตอร์ (Router) ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใด จึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง














หลักในการเลือกทางเดินข้อมูล


1. การเลือกทางเดินที่สั้นที่สุด


การเลือกทางเดินที่สั้นที่สุด เป็นวิธีการที่ถูกนำไปใช้มากที่สุด หลักการทำงานเริ่มต้นด้วยการสร้างรูปกราฟของระบบเครือข่ายย่อยโดยแต่ละโหนดในรูปกราฟแทนเราท์เตอร์แต่ละตัวในเครือข่าย และให้เส้นเชื่อมโหนดแทนสายเครือข่ายที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเราท์เตอร์



2. การเลือกเส้นทางที่เหมาะที่สุด


เป็นหลักการพื้นฐานของการหาเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด ที่ไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของระบบเครือข่ายแบบใด



3. อัลกอริทึมการเลือกทางเดินแบบ Flooding


เป็นแบบสถิตย์ ถือไม่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของระบบจจะส่งแพ็กเก็ตไปทุกทิศทาง วิธีนี้จะเกิดการซ้ำซ้อนกันของข้อมูล เหมาะกับงานเกี่ยวกับกิจการทางทหาร วิธีการแบบฟลัดดิ้งสามารถปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเรียกว่า "วิธีฟลัดดิ้งบางทิศทาง"



4. เลือกทางเดินแบบ Flow Base


การเลือกเส้นทางในแบบนี้จะมีการพิจารณาปริมาณของข้อมูลในระบบเป็นหลัก คือ ถ้าเกิดเส้นทางการเดินทางมีปริมาณข้อมูลมากในเส้นทางนั้น ก็ให้หลีกเลี่ยงไปใช้เส้นอื่นแทน แม้ว่าระยะทางจะมีมากว่าก็ตามเป็นการเลือกทางเดินแบบสถิตย์ ที่นำเอาข้อมูลทางด้านโครงสร้างเครือข่าย และปริมาณข้อมูลมาพิจารณาด้วย



5. การเลือกทางเดินแบบ Distant Vector


เป็นการเลือกทางเดินแบบ พลวัตรที่ได้รับความนิยมมาก เราท์เตอร์ทุกตัว จะต้องสร้างตารางเก็บข้อมูล และหาเส้นทางที่ดีที่สุด จะต้องส่งตารางข้อมูลทุกช่วงเวลา และเลือกเดินเส้นทางที่เวลาน้อยที่สุด





เทคโนโลยี ถัดจากการต่อด้วยโมเด็ม 56k


ในปัจจุบันนี้การต่ออินเตอร์เน็ตแบบไฮสปีดเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเพราะมีความเร็วกว่าอินเตอร์เน็ตในยุคแรกๆ
แต่ทางผมขอย้ำให้เพื่อนๆเข้าใจอีกทีว่า เมื่อก่อนเราใช้ อินเตอร์เน็ต 56k เพื่อนๆเคยถามตัวเองหรือไม่ว่ามันช้า
สำหรับผมแล้วเมื่อก่อนผมใช้อินเตอร์เน็ต 56k ณ.เวลานั้นก็ไม่ได้รู้สึกว่าช้าอะไรสักเท่าไหร่แต่ ถึงเวลานี้แล้ว
คงไม่มีคนหันกลับไปมองความสำคัญของอินเตอร์เน็ต 56k สักเท่าไหร่
วันนี้ผมจึงมาขอทวนความหลังเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตแต่ไม่ใช่ระบบ 56k ซึ่งมีบทความอยู่แล้ว
ผมจึงมาอธิบายเกี่ยวกับหลักการทำงานของอินเตอร์เน็ตที่ เหนือ กว่า56k มานิดหน่อยคือการใช้อินเตอร์
เน็ตด้วยการต่อโทรศัพท์มือถือผ่านระบบ GPRSและEDGE

ในสมัยเริ่มแรกนั้นทุกคนรู้จักโมเดม 56k ไปแล้วทุกคนแสวงหาการเล่นอินเตอร์เน็ตที่เข้าได้เร็วกว่า 56k
แต่ในเวลาถัดมาจากนั้นไม่นานได้มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาคือระบบ GPRS โดยการ ติดต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์มือถือ
เริ่มจากระบบ GPRS
เริ่มต้นด้วยระบบ GSM หรือทางศัพท์ทางเทคโนโลยีแล้ว เรียกว่า ช่วงระบบ 1G โทรศัพท์มือถือที่ใช้ในยุค 1G นั้นมีการใช้ระบบแบบ Analog ซึ่งไม่สามารถรับส่ง ข้อมูลอะไรได้เลยยกเว้น ข้อมูลเสียง เช่นการพูดคุยทางโทรศัพท์ ในยุค 1G นี้แม้แต่คุณจะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถส่งได้ซึ่งต่อมาได้พัฒนาระบบมาเป็นระบบ 2G
ระบบ 2G เริ่มจะมาพัฒนาในระบบ 2G คือการรับส่งข้อมูลแบบ Digital ซึ่งให้เทคโนโลยีหลายๆอย่างเกิดเช่น การส่ง SMS MMS โดยที่ผู้พัฒนาได้เริ่มเข้าสู่ระบบ 2.5G
ในส่วนของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบ GPRS นี้จะมีความเร็วประมาณ 128kbps เท่านั้นซึ่งถ้าถือว่าการทำงานของอินเตอร์เน็ตในสมัยนั้นได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนมาถึง


 
เริ่มระบบ EDGE
EDGE พัฒนามาจาก ระบบ GPRS ระความเร็วสูงกว่า GPRS 4เท่า ซึ่งในยุคนี้เราจะใช้เทคโนโลยี 2.75G ระบบEDGEนั้นให้ความสามารถของการรับส่งต่อข้อมูลได้สูงขึ้น พัฒนากันได้สูงจนถึงขนาด ต่ออินเตอร์เน็ตได้ถึง 473.6Kbps แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นระบบ ความเร็วสูงสุดของ EDGE ที่ Operator ปล่อยมานั้นจะอยู่ประมาณ 220-236.8 kbps และในเทคโนโลยี EDGE

ถึงในปัจจุบันนี้ พวกเราไม่ได้หันหลังกลับไปมองในส่วนของเทคโนโลยีที่ช้าและล้าหลังกันสักเท่าไหร่นักผมจึงมา
ให้คำอธิบายคราวๆไว้ให้เข้าใจว่าถ้าเทคโนโลยีพวกนี้ไม่มีมาก่อน เราคงไม่ได้ใช้ Hi-Speed internet จนถึงทุกวันนี้

นายณัฐวุฒิ มงคลศิริ 5307470

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

Modem 56k ก่อนจะมี Router

โมเด็ม (Modem)

เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และรับส่งข้อมูลกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง โอยอาศัยตัวกลางจำพวกสายโทรศัพท์และสาย Fiber Optic ในการส่งผ่านข้อมูล หลักการทำงานโดยคร่าวของโมเด็มก็คือ เปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณเสียงเพื่อให้สามารถส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์ได้ และในทางกลับกันก็รับเอาสัญญาณเสียงที่ถูกส่งผ่านมาตามสายโทรศัพท์จากโมเด็มอีกฟากหนึ่งมาแปลงกลับให้เป็นข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม ปัจจุบันโมเด็มที่มีวางขายและใช้งานกันโดยทั่วไป ถ้าแบ่งออกตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจะแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

Dial-Up Modem (56K Dial-UP)
 
เป็นโมเด็มแบบอนาล็อคที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณผ่านระบบโทรศัพท์แบบธรรดา เวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เร็ต (ISP) ด้วย มาตราฐานล่าสุดที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ V.92 ซึ่งให้ Bit Rate หรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 56/33.6 Kbps (รับข้อมูลขาลงจากอินเทอร์เน็ต หรือ Download ที่ความเร็ว 56 Kbps และส่งข้อมูล ขาขึ้น Upload ที่ความเร็ว 33.6 Kbps)
   
ADSL Modem (High-Speed Internet)




เป็นโมเด็มแบบดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกันด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนคู่สายโทรศัพท์แบบะรรดา โดยเลือกใช่ย่านความถี่ที่ไม่มีในการใช้งานอินเทอร์เน็ต (โมเด็มแบบ Dial-Up ในระหว่างใช้งานอินเทอร์เน็ตจะำม่สามารถใช้โทรศัพท์ปกติไปพร้อมๆกันได้) อีกทั้งเวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั่ง ก็ไม่จำเป็นต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์เหมือนกับ 56k Dial-Up อีกด้วย ปัจจุบันเทคโนโยยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Hing-Speed Internet) และโมเด็มของ ADSL นี้กำลังเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นมาตรฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไป ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ความเร็วได้ตามต้องการจากผ๔้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) เช่น 256/128, 512/256 และ 1024/512 Kbps เป็นต้น โดยแต่ละความเร็วจะมีอัตราค่าบริการแต่กต่างกันไปสำหรับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดด้วยระบบ ADSL ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 8192/1024 Kbps หรือก็คือ รับส่งข้อมูลขาลงจาก ISP (Download) ด้วยความเร็วสูงสุด 16 Mbps และส่งข้อมูลขาขึ้นไปหา ISP (Uplpad) ด้วยความเร็วสูงสุด 1 Mbps

Dial - up เป็นโมเด็มที่ ใช้สายโทรศัพท์ทองแดงแบบดั้งเดิมในการส่งสัญญาณ อะนาล็อก
CCITT  คือ คณะกรรมการระหว่างประเทศที่ระบุโมเด็ม วิธีการและเครื่องแฟกซ์ส่งข้อมูลเพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานร่วมกันระหว่างโมเด็มได้จำแนกโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ตาม มาตรฐาน ดังต่อไปนี้การปรับ
•     Bell & 212A 103M : มาตรฐานสูงอายุ Bell 103 ส่งที่ 300 bps ที่ 300 baud 212A ส่งและที่ 1200 bps ที่ 600 baud
•     V.21 : สามารถที่จะเพียง 300 bps เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศส่วนใหญ่ที่ใช้นอกประเทศสหรัฐอเมริกา
•     V.22 : 1200 bps สามารถในการที่ 600 baud  ส่วนใหญ่ที่ใช้นอกประเทศสหรัฐอเมริกา
•     V.22bis : ในและสหรัฐอเมริกาออกก็จะสามารถที่ 600 2400 bps baud ใช้
•     V.23 : ใช้ส่วนใหญ่ในยุโรปจะช่วยให้โมเด็มส่งและรับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกันที่ 75 bps
•     V.29 : ทางเดียว ( ครึ่งเพล็กซ์ - ) มาตรฐานที่ใช้ส่วนใหญ่สำหรับเครื่องโทรสาร  สามารถที่จะ 9600 bps
•     V.32 : เพล็กซ์เต็ม มาตรฐานความสามารถในการ 9600 bps ที่ 2400 baud  V.32 โมเด็มโดยอัตโนมัติปรับความเร็วในการส่งผ่านของพวกเขาขึ้นอยู่กับสายที่มีคุณภาพของ
•     V.32bis : รุ่นที่สองของ V.32, มันเป็นความสามารถในการ 14,400 bps  มันจะยังเข้าสู่ทางเลือก V.32 ถ้าสายโทรศัพท์เป็นทางการ
•     V.32ter : รุ่นที่สามของ V.32, ความสามารถในการ 19,200 bps
•     V.34 : สามารถในการ 28,000 bps หรือทางเลือกเพื่อ 24,000 และ 19,200  มาตรฐานนี้มีการย้อนกลับเข้ากันได้กับ V.32 และ V.32bis
•     V.34bis : สามารถในการ 33,600 bps หรือทางเลือกเพื่อ 31,200
•     V.42 : อัตราการถ่ายโอนเช่นเดียวกับ V.34 แต่เป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้นเนื่องจากการแก้ไขข้อผิดพลาด
•     V.42bis : โปรโตคอลการบีบอัดข้อมูลที่สามารถเปิดใช้งานโมเด็มเพื่อให้ได้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลของ 34,000 bps
•     V.44 : ช่วยให้การบีบอัดของเว็บเพจที่ท้าย ISP และ decompression โดยโมเด็ม V.44 ที่สอดคล้องเพื่อให้การส่งข้อมูลเดียวกันจะต้องส่งข้อมูลที่น้อยลง
•     V.90 : มาตรฐานการส่งข้อมูลที่เร็วที่สุดสำหรับส่งข้อมูลแบบอะนาล็อกก็เป็นความสามารถในการ 56,000 bps
•     V.92 : ส่งที่ความเร็วเดียวกับ V.90 แต่มีการจับมือกันลดเวลาและ - ถือคุณลักษณะ

Dial - up การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตไม่จำเป็นต้องใช้ โครงสร้างพื้นฐาน อื่น ๆ นอกเหนือจาก เครือข่ายโทรศัพท์  การเข้าถึงโทรศัพท์สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง, Dial - up ต้องใช้เวลาในการสร้างการเชื่อมต่อใช้งานโทรศัพท์ (ถึงหลายวินาทีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง) และดำเนินเชื่อมต่อกันเพื่อทำข้อมูลให้ตรงกันโพรโทคอก่อนที่จะถ่ายโอนข้อมูลสามารถเกิดขึ้น dial - up ยังคงเป็นประโยชน์ต่อนักเดินทาง  Dial - up จะเป็นทางเลือกที่สามารถใช้ได้เฉพาะ ในชนบทห่างไกลหรือ พื้นที่ที่มีการติดตั้งบรอดแบนด์ไม่แพร่หลายเนื่องจากมีประชากรน้อยและความต้องการ  เข้าถึง Dial - up อาจจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้ในงบประมาณ จำกัด ตามที่ให้บริการฟรีโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตบางอย่าง แต่ความเร็วสูงจะเพิ่มมากขึ้นใช้ได้ในราคาที่ต่ำในหลายประเทศจึงมีการแข่งขันในตลาด


นายพรณรงค์ ปรัชญาประเสริฐ 5307797

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ความหมายของเราท์เตอร์(Router)


















เราท์เตอร์(Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกันคล้ายกับบริดจ์(Bridge) แต่มีส่วนการทำงานที่
ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์(Bridge) โดยทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือโหนด(Node) หนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของแพ็คเก็จ (packet )ที่ต่างออกไป เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่นๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้เราท์เตอร์(Router) เปรียบเทียบระหว่างฮับ(Hub) และสวิตซ์(Switch) แล้ว เราท์เตอร์(Router) เป็นอุปกรณ์ที่ฉลาดกว่า
เราท์เตอร์(Router) ใช้เพื่อการส่งต่อข้อมูลที่จุดหมายซับซ้อนกว่ามาก โดยตัดสินใจส่งต่อข้อมูลจาก ตารางสำหรับการเราท์ (Routing Table) อุปกรณ์เราท์เตอร์(Router) จะทำให้การส่งต่อข้อมูลไปตามเส้นทาง ที่มีประสิทธิภาพที่สุดและถ้าการเชื่อมระหว่างเราท์เตอร์(Router) 2 ตัวที่จะส่งไปขาด มันยังสามารถตัดสินใจ เปลี่ยนเส้นทางที่เหมาสมเองได้อีกด้วย เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ขาดตอน
เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยนอกจากนั้น เราท์เตอร์(Router) ยังไม่ใช่เพียงสามารถเชื่อมต่อระบบเครือ่ข่ายต่างๆ ในอาคารไว้ด้วยกันเท่านั้น แต่มีจุดเชื่อมต่อไปยังภายนอก หรือเรียกว่า ซ็อกเก็ต (Socket) เชื่อมออกไปสู่บริการแบบ ระบบเครือข่ายพื้นที่กว้าง (Wide area Network WAN) ได้อีกด้วย บริการ WAN จะทำให้คุณสามารถติดต่อสื่อสาร่กระจายออกไปสู่ระบบเครือข่ายอื่นๆ ทั่วโลกได้







วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

Types of Router

Routing Algorithm




T


การแบ่งประเภทของ routing algorithm ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภท interior routing protocol และ exterior routing protocol ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ก็จะสามารถแยกเป็นย่อยๆได้อีก เช่น


  • Static routing, Dynamic routing
  • Intra-domain routing, Interdomain routing
  • Flat routing, Hierachical routing
  • Centralized routing, Distributed routing
  • Single path routing, Multipath routing
  • Host-intelligent routing, Router-intelligent routing
  • Link-state, Distance vector routing
  • Policy routing

จะยกตัวอย่างชนิดของ Router พอสังเขป

1.Interior Routing Protocol

ในการใช้งาน Interior routing protocol มักจะใช้กับเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือข่ายขนาดย่ยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่ โดยใช้เป็นเส้นทางการติดต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน เช่น บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) จะมีการเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ คือเครือข่ายของลูกค้าแบบองค์กรที่องค์กรที่เชื่อมต่อเครือข่ายของตนเข้ากับเครือข่ายของ ISP ทำให้เครือข่ายของลูกค้าอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ในการติดต่อส่งผ่านข้อมูลกัน
อุปกรณ์ Router จะแลกเปลี่ยนข้อมูล routing table เพื่อให้ทราบว่าเส้นทางใดจะเป็นเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ตัง Router ของบริษัท ISP จะทำหน้าที่เป็น Router หลักอยู่ในระบบที่เรียกว่า Autonomous System (AS) ที่จะเชื่อมต่อออกไปยังระบบภายนอกและออกสู่อินเตอร์เน็ตต่อไป เรียกได้ว่า Autonomous System นี้เป็นระบบที่ใช้เชื่อมโยระ
หว่าง Router หลักในแต่ละ Autonomous System ด้วยกัน
Router หลักดังกล่าวของ ISP จะมีหมายเลขประจำตัวหรือหมายเลข Autonomous System ที่ไม่ซ้ำกับเรียกว่า AS number ซึ่งสามารถขอหมายเลขนี้ได้ที่ Internic เช่นกัน โดย Router หลักต้องมี AS number จะต้องเป็น Router ที่เชื่อมต่อระหว่าง Router หลักด้วยกันเท่านั้น และมี routing protocol บางชนิดใช้งานค่าหมายเลข AS number นี้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานะของเครือข่ายและข้อมูล routing table ด้วย ในกลไกการระบุเส้นทางประเภท Interior routing protocol ยังมีการแยกย่อยลงไปได้อีกหลายแบบเช่น แบบ Distance-Vector routing protocol และแบบ Link-state routing protocol

2.Link-state Routing Protocol



ลักษณะกลไกการทำงานแบบ Link-state rou

ting protocol คือตัว Router จะ Broadcast ข้อมูลการเชื่อมต่อของเครือข่ายตนเองไปให้ Router อื่นๆทราบ ข้อมูลนี้เรียกว่า Link-state ซึ่งเกิดจากการคำนวณ Router ที่จะคำนวณค่าในการเชื่อมต่อโดยพิจารณา Router ของตนเองเป็นหลักในการสร้าง routing table ขึ้นมา ดังนั้นข้อมูล Link-state ที่ส่งออกไปในเครือข่ายของแต่ละ Router จะเป็นข้อมูลที่บอกว่า Router นั้นๆมีการเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายใดอย่างไร และเส้นทางการส่งที่ดีที่สุดของตนเองเป็นอย่างไร โดยไม่สนใจ Router อื่น และกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในเครือข่าย เช่น มีบางวงจรเชื่อมโยงล่มไปที่จะมีการส่งข้อมูลเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปให้ ซึ่ง

มีขนาดไม่ใหญ่มาก

ตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้กลไกแบบ Link-state ได้แก่ โปรโตคอล OSPF (Open Shortest Path First) สำหรับ Interior routing protocol นี้บางแห่งก็เรียกว่า Intradomain routing protocol
3.Distance-vector Routing Protocol



ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอา

พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก



การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น



4.Exterior Routing Protocol

เมื่อเครือข่ายภายใน เช่น เครือข่ายของ ISP ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายหลักภายนอกและออกสู่อินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการเชื่อมต่อกันแบบ Exterior Routing Protocol และอาศัยหมายเลย AS number ในการติดต่อกัน
การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายเพื่อให้ Router หลักๆในอินเตอร์เน็ตเรียนรู้เส้นทางในการติดต่อส่งข้อมูล จะถือเสมือนว่าเครือข่ายหลักและเครือข่ายบริวารนั้นเป็นหนึ่งเครือข่าย และติดต่อกันเช่นนี้ในแต่ละเครือข่ายที่มีหมายเลข AS ประจำตัว เพราะถ้าทั้งเครือข่ายหลักและเครือข่ายบริวารจะต้องส่งข้อมูล routing table ออกไปให้กับ Router ทุกตัวในอินเตอร์เน็ตแล้ว ก็จะทำให้ช่องสัญญาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอและเป็นที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เครือข่ายติดขัดได้