วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

Types of Router

Routing Algorithm




T


การแบ่งประเภทของ routing algorithm ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ประเภท interior routing protocol และ exterior routing protocol ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ก็จะสามารถแยกเป็นย่อยๆได้อีก เช่น


  • Static routing, Dynamic routing
  • Intra-domain routing, Interdomain routing
  • Flat routing, Hierachical routing
  • Centralized routing, Distributed routing
  • Single path routing, Multipath routing
  • Host-intelligent routing, Router-intelligent routing
  • Link-state, Distance vector routing
  • Policy routing

จะยกตัวอย่างชนิดของ Router พอสังเขป

1.Interior Routing Protocol

ในการใช้งาน Interior routing protocol มักจะใช้กับเครือข่ายขนาดเล็กที่มีเครือข่ายขนาดย่ยเชื่อมต่อเป็นสมาชิกอยู่ โดยใช้เป็นเส้นทางการติดต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกลุ่มสมาชิกด้วยกัน เช่น บริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) จะมีการเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยๆ คือเครือข่ายของลูกค้าแบบองค์กรที่องค์กรที่เชื่อมต่อเครือข่ายของตนเข้ากับเครือข่ายของ ISP ทำให้เครือข่ายของลูกค้าอยู่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ในการติดต่อส่งผ่านข้อมูลกัน
อุปกรณ์ Router จะแลกเปลี่ยนข้อมูล routing table เพื่อให้ทราบว่าเส้นทางใดจะเป็นเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ตัง Router ของบริษัท ISP จะทำหน้าที่เป็น Router หลักอยู่ในระบบที่เรียกว่า Autonomous System (AS) ที่จะเชื่อมต่อออกไปยังระบบภายนอกและออกสู่อินเตอร์เน็ตต่อไป เรียกได้ว่า Autonomous System นี้เป็นระบบที่ใช้เชื่อมโยระ
หว่าง Router หลักในแต่ละ Autonomous System ด้วยกัน
Router หลักดังกล่าวของ ISP จะมีหมายเลขประจำตัวหรือหมายเลข Autonomous System ที่ไม่ซ้ำกับเรียกว่า AS number ซึ่งสามารถขอหมายเลขนี้ได้ที่ Internic เช่นกัน โดย Router หลักต้องมี AS number จะต้องเป็น Router ที่เชื่อมต่อระหว่าง Router หลักด้วยกันเท่านั้น และมี routing protocol บางชนิดใช้งานค่าหมายเลข AS number นี้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานะของเครือข่ายและข้อมูล routing table ด้วย ในกลไกการระบุเส้นทางประเภท Interior routing protocol ยังมีการแยกย่อยลงไปได้อีกหลายแบบเช่น แบบ Distance-Vector routing protocol และแบบ Link-state routing protocol

2.Link-state Routing Protocol



ลักษณะกลไกการทำงานแบบ Link-state rou

ting protocol คือตัว Router จะ Broadcast ข้อมูลการเชื่อมต่อของเครือข่ายตนเองไปให้ Router อื่นๆทราบ ข้อมูลนี้เรียกว่า Link-state ซึ่งเกิดจากการคำนวณ Router ที่จะคำนวณค่าในการเชื่อมต่อโดยพิจารณา Router ของตนเองเป็นหลักในการสร้าง routing table ขึ้นมา ดังนั้นข้อมูล Link-state ที่ส่งออกไปในเครือข่ายของแต่ละ Router จะเป็นข้อมูลที่บอกว่า Router นั้นๆมีการเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายใดอย่างไร และเส้นทางการส่งที่ดีที่สุดของตนเองเป็นอย่างไร โดยไม่สนใจ Router อื่น และกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในเครือข่าย เช่น มีบางวงจรเชื่อมโยงล่มไปที่จะมีการส่งข้อมูลเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปให้ ซึ่ง

มีขนาดไม่ใหญ่มาก

ตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้กลไกแบบ Link-state ได้แก่ โปรโตคอล OSPF (Open Shortest Path First) สำหรับ Interior routing protocol นี้บางแห่งก็เรียกว่า Intradomain routing protocol
3.Distance-vector Routing Protocol



ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอา

พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก



การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น



4.Exterior Routing Protocol

เมื่อเครือข่ายภายใน เช่น เครือข่ายของ ISP ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายหลักภายนอกและออกสู่อินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการเชื่อมต่อกันแบบ Exterior Routing Protocol และอาศัยหมายเลย AS number ในการติดต่อกัน
การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายเพื่อให้ Router หลักๆในอินเตอร์เน็ตเรียนรู้เส้นทางในการติดต่อส่งข้อมูล จะถือเสมือนว่าเครือข่ายหลักและเครือข่ายบริวารนั้นเป็นหนึ่งเครือข่าย และติดต่อกันเช่นนี้ในแต่ละเครือข่ายที่มีหมายเลข AS ประจำตัว เพราะถ้าทั้งเครือข่ายหลักและเครือข่ายบริวารจะต้องส่งข้อมูล routing table ออกไปให้กับ Router ทุกตัวในอินเตอร์เน็ตแล้ว ก็จะทำให้ช่องสัญญาณที่มีอยู่ไม่เพียงพอและเป็นที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เครือข่ายติดขัดได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น