วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Connection-Oriented Servers

Connection Oriented  มีการสื่อสารแบบ TCP มีลักษณะเหมือนส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ต้องมีการสร้าง Connection ก่อน 
จึงจะส่งข้อมูล และเมื่อส่งข้อมูลเสร็จสิ้น ก็จะทำการยุติการติดต่อ ทั้งนี้เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลทีละชิ้นไปเรื่อยๆ ผู้รับก็รับข้อมูลนั้นๆ ตามลำดับก่อนหลัง ทำให้เสียเวลาในจุดเริ่มต้น แต่การส่งมีความถูกต้อง และรับรองว่าปลายทางได้รับข้อมูลแน่นอน

Connection Oriented Service
เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ต้องมีการทำ Handshaking (การตรวจสอบสัญญาณ) ก่อนเสมอ คือ ก่อนที่ client จะทำการ request ข้อมูล จะต้องทำการส่งสัญญาณไปยัง server เพื่อรอให้ server ตอบมาว่าพร้อมที่จะส่งข้อมูล ข้อดีของ Connection Oriented Service คือ มีความน่าเชื่อถือสูง เพราะจะมีการทำ Acknowledgement และ Retransmission และมี Flow Control คือ มีการควบคุมการไหลหรือ traffic ไม่ให้หนาแน่นเกินไป ข้อดีอีกข้อคือ มี Congestion Control นั้นคือ การควบคุมไม่ให้ฝั่งส่ง ส่งข้อมูลเร็วเกินไปจน buffer ฝั่งรับไม่สามารถระบายได้ทัน โดยตัวอย่างที่สำคัญของ Connection Oriented Service คือ Transmission Control Protocol หรือ TCP นั้นเอง




Server มีพื้นฐานอยู่ 2 ชนิด คือ

Iterative Server คือ Server ที่ให้บริการ client ได้ครั้งละ 1 ตัว ปกติแล้วจะไม่ใช้กัน เพราะหาก Web Server ให้บริการแบบ Interative Server เช่น หากคนหนึ่งเข้าไป Web 1 ชั่วโมง คนอื่นจะต้องรอจนกว่าคนแรกออกมา ดังนั้น Interative Server มักจะเป็น Server ที่ทำงานระยะสั้นๆ แล้วจบเลย เพราะจะง่ายและสะดวก คือ จะให้บริการ Client ครั้งละตัว แต่หากมี Client เข้ามามากกว่า 1 ตัว จะให้บริการตัวแรกก่อน  แล้วที่เหลือจะให้รอเข้าคิวไว้ เข้าคิวไว้เรื่อยๆ จนกว่าจะเต็มคิว  หากเข้ามาทีหลังซึ่งคิวเต็มแล้ว จะถูกตัดออกไปอัตโนมัติ

 Concurrent Server เป็น Server ที่ใช้กันจริงๆ  และนิยมใช้กันบน Internet หลักการคือ มันจะสามารถให้บริการ Client ได้พร้อมๆกันมากกว่า 1 ตัว Concept ของ java ของคำว่า thread จะสร้าง thread ย่อยๆ ของ Server ไปให้บริการ Client ส่วน thread แม่จะไปรับบริการจาก thread ย่อยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น